ดูดวง ไพ่ยิปซีทั่วโลก-ไหว้พระ 9 วัดในกรุงเทพมหานคร เสริมสิริมงคล เสริมดวง เสริมลาภ
การไหว้ พระ 9 วัด เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่จะช่วยแบ่งปันสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน ช่วยชำระจิตใจให้มีความสงบมากขึ้น จะได้มีสติในการไตร่ตรองในชีวิต เมื่อสติมา ปัญญาก็เกิด การดำเนินชีวิตก็จะเป็นไปอย่างราบรึ่น
ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่นี้ ขอเชิญท่านมาไหว้พระ ทำบุญและบริจาคทานตามกำลัง ในศาสนสถาน หรือสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
คติ แก้วแหวนเงินทาง ไหลมาเทมา
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต ที่พระระเบียงมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่วิจิตรงดงามมาก นอกจากนี้ยังมี ปราสาทพระเทพบิดร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 1-8 พระศรีรัตนเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หอพระราชพงศานุสรณ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาล ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ทรงคุณค่าที่น่าสนใจอีกมาก
การเดินทางไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
สถานที่ตั้ง บริเวณสนามหลวง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 1, 3, 25, 32, 33, 59, 60, 70, 82, 91, 201, 203, ปอ. 2, 3, 6, 25, 32, 59, 60, 70, 82, 201, 203, 512
2.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
คติ ร่มเย็นเป็นสุข
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมชื่อวัดโพธาราม รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็น มหาวิทยาลัยสำหรับประชาชน มีการรวบรวมสรรพวิชาความรู้มาจารึกบนแผ่นศิลา ติดไว้บริเวณพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถมี พระพุทธเทวปฏิมากร และมีพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่สวยงามที่สุด ปัจจุบันวัดโพธิ์เปิดอบรมเผยแพร่วิชาแพทย์แผนโบราณ โดยผู้ผ่านการอบรม จะได้รับใบประกอบโรคศิลป์จากกระทรวงสาธารณสุข
การเดินทางไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง ด้านหลังพระบรมมหาราชวัง ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 82, 91, ปอ. 32, 44, 91
3. วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
คติ พบแต่สิ่งดีงามในชีวิต
เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ "วัดใหม่" กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพในรัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงผนวช ได้เสด็จมาประทับและทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้เป็นครั้ง แรก ถือเป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดแห่งนี้ ภายในพระอุโบสถ มีภาพเขียนฝีมือขรัวอินโข่ง และประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เช่น พระสุวรรณเขต พระพุทธชินสีห์ พระนิรันตราย และพระพุทธนินนาท
การเดินทางไปยังวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
สถานที่ตั้ง ถนนพระสุเมรุ ย่านบางลำพู เขตพระนคร
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 3,9,64,65,53,56,68
หมายเหตุ : เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางไปไหว้พระเก้าวัด คือเวลา 09.00 – 16.00 น. ของทุกวัน ควรแต่งกายสุภาพ และเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ควรไปด้วยรถประจำทาง หรือบริการขนส่งสาธารณะ เนื่องจากสถานที่จอดรถมีจำนวนจำกัด
4. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
คติ เสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล
ตั้งอยู่ที่ปากคลองมหานาค เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดสะแก" รัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่แล้วพระราชทานนามว่า "วัดสระเกศ" มีพระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงดัดแปลงจากพระปรางค์ที่ทรุดพังลง โดยแปลงเป็นภูเขาและก่อเจดีย์ไว้บนยอด ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
การเดินทางไปยังวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 8, 15 ,37, 47, 49
เรือโดยสาร เรือล่องคลองแสนแสบ ลงที่ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
5. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
คติ ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดมะกอก เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 ภายในวัดมีพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก ซึ่งรัชกาลที่ 2 ทรงปั้นหุ่นและพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง
การเดินทางไปยังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง ข้างกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 19, 57
เรือโดยสารข้ามฟากจากท่าเตียน ขึ้นที่ท่าวัดอรุณฯ
6. วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
คติ ไหว้พระวัดสุทัศน์ฯ วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่บุคคลทั่วไป
วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 8 เดิมชื่อ วัดมหาสุทธาวาส ภายในพระวิหารมี พระศรีศากยมุนี ซึ่งอัญเชิญมาจากสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ถอดแบบมาจากพระวิหารพระมงคลบพิตร กรุงศรีอยุธยา ส่วนที่พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ ปางมารวิชัย และยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง อันเป็นฝีมือช่างชั้นครูในสมัยรัชกาลที่ 3 อีกด้วย
การเดินทางไปยังวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง บริเวณเสาชิงช้า ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
การเดินทาง โดยรถประจำทาง สาย 10, 12, 42 ปอ. 42
7.วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
คติ มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สร้างสมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ มีพระพุทธรูปปั้งลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พระนามว่า พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดมบรมศาสดา อนาวรญาณ
การเดินทางไปยังวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง ถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 33, 64, 65, ปอ. 32, 64, 65
8. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
คติ มีคนนิยมชมชื่น
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือวัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ สร้างตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระประธานยิ้มรับฟ้า เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไปสักการะสมเด็จพุฒาจารย์ ให้ขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชร แล้วปักธูปที่กระถาง และปิดทองที่รูปปั้น เสร็จแล้วพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
การเดินทางไปยังวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย
การเดินทาง โดยรถประจำทางสาย 19, 57
ทางเรือ โดยเรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าเรือรถไฟหรือท่าวังหลัง หรือข้ามฟากที่ท่าช้าง แล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง
9. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
คติ เดินทางปลอดภัยดี มีมิตรไมตรีที่ดี
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท สร้างขึ้นเมื่อสมัยราชกาลที่ 3 เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต หรือเรียกตามแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง
การเดินทางไปยังวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี
การเดินทาง โดยรถประจำทาง สาย 40, 57, 149, ปอ. 177
ทางเรือ ข้ามเรือข้ามฟากที่ท่าเรือปากคลองตลาด มาท่าเรือวัดกัลยาฯ
ร้านค้าออนไลน์
http://www.albaniagirls.net/
http://www.asktarot.co.cc/
http://www.belizegirl.co.cc/
http://www.digitallife-shop.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น